ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม : ข่าวประกาศ

นักวิจัยวิทย์ มช. ค้นพบมอสส์ ชนิดใหม่ของโลก


"มอสส์" อาจเป็นพืชชั้นต่ำที่หลายคนมองข้าม แต่นักวิจัยวิทย์ มช. กลับสนใจศึกษา จนค้นพบ "มอสส์ชนิดใหม่ของโลก" ในบริเวณพื้นที่ปกปักทรัพยากร ณ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน มอสส์สกุล Koponobryum วงศ์ Pottiaceae เดิมทีมีการกระจายพันธุ์ของสกุลเฉพาะในประเทศอินเดีย (endemic to India) และมีรายงานเพียง 1 ชนิดในโลก คือ Koponobryum bengalense (Gangulee) Arts (Arts, 2001) ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ มีต้นแกมโทไฟต์แยกเพศ (dioicous) คือ เป็นต้นเพศเมียและต้นเพศผู้แยกกัน ใบรูปลิ้นแกมหอก ปลายใบแหลม สีเขียวอ่อนถึงโปร่งใส ฐานใบเป็นติ่งยาว เซลล์กลางใบค่อนข้างกลม มีปุ่มนูนตรงกลางเซลล์ 1 ปุ่มทั้งด้านหลังใบและท้องใบ สร้างสปอร์ทรงกลม มีผิวเรียบ และมีเซลล์ขนที่แกนลำต้น (axillary hairs) ยาวประมาณ 70 ไมโครเมตร ประกอบขึ้นจาก 3 เซลล์ คือเซลล์ที่ฐานสั้นๆ 2 เซลล์ สีน้ำตาล และเซลล์ปลายขนสีใส 1 เซลล์





ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Department of Biology, Faculty of Science, Chiang Mai University
Tel. +6653943349-50 




Copyrights © Since 2022 All Rights Reserved by Department of Biology, Faculty of Science, Chiang Mai University